วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หมู่เกาะสิมิลัน

หมู่เกาะสิมิลัน


ข้อมูลทั่วไป
หมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา (ที่ทำการอุทยาน ตั้งอยู่ที่ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า สิมิลัน เป็นภาษายาวี หรือ มลายู แปลว่า เก้า หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือ มา ใต้ คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเร่ย์ ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ 


ลักษณะภูมิประเทศ 
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วยพื้นดินที่เป็นเกาะต่างๆ เขาหินแกรนิตสูงชัน หาดทราย โขดหิน ลักษณะรูปร่างต่างๆ ชายฝั่งของเกาะต่างๆ มีลักษณะเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากตั้งอยู่ในส่วนทะเลนอก ได้รับอิทธิพลจากการกัดเซาะของคลื่นทะเลโดยตรง เรียงตัวตามแนวทิศเหนือใต้ พื้นน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียตะวันออก บริเวณไหล่ทวีปติดชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและประเทศพม่า คู่ขนานกับแนวเกาะนิโคบาร์ ที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศอินเดีย ตามชายหาดหรือสันทรายจะไม่มีดินเลนให้เห็นจึงเป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สวยงาม อนุภาค ทรายมีขนาดเล็กละเอียด ส่วนที่เป็นยอดเขาจะเป็นเขาโดดสูงชัน ยอดเขาสูงสุดมีความสูง 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางเกาะมีลักษณะแบนราบล้อมรอบด้วยเนินทรายและแนวปะการัง 


ลักษณะภูมิอากาศ 
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีเฉลี่ย 3,560 มิลลิเมตร ปริมาณการระเหยของน้ำแต่ละปีเฉลี่ย 1,708 มิลลิเมตร ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี ดังนี้ 
- ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี 
- เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี 



พืชพรรณและสัตว์ป่า 
พืชพรรณ สามารถจำแนกออกได้ เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ป่าชายหาด มีลักษณะโปร่งพบพันธุ์ไม้กระจัดกระจายมีความสูงไม่เกิน 15 เมตร ได้แก่ หูกวาง จิกเล สารภีทะเล ไม้ยืนต้นขนาดเล็กและไม้พุ่มขนาดใหญ่ ความสูงไม่เกิน 10 เมตร เช่น ตะบัน หงอนไก่ทะเล ปอทะเล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไม้พุ่มขนาดเล็ก เช่น ชิงชี่ ก้างปลาทะเล เตยทะเล เป็นต้น พืชคลุมดินที่พบ เช่น พืชตระกูลถั่ว พวกถั่วผี ผักราด หญ้าที่พบตามชายหาด เช่น หญ้าหวาย หญ้าขุย ไม้ไผ่ พืชอาศัย ได้แก่ นมพิจิตร ข้าหลวงหลังลาย เป็นต้น
2. ป่าละเมาะ เป็นสังคมของไม้พุ่มที่เจริญเติบโตได้บนดินที่มีความลึกของชั้นดินไม่เกิน 30 เซนติเมตร พรรณไม้ที่พบไม่หนาแน่นนัก เช่น กระบองเพชร จันทน์ผา ไม้พุ่มขนาดเล็กที่พบทั่วไป ได้แก่ พลอง นกนอน เป็นต้น
3. ป่าดงดิบ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ความสูง 20 เมตรขึ้นไป ได้แก่ ยางปาย ยูง สะยา ไม้ยืนต้นขนาดรองลงมา ความสูง 15-20 เมตร ได้แก่ ขนุนนก เม่า โมกป่า ไม้ยืนต้นขนาดกลางความสูง 10-15 เมตร ที่พบ เช่น กระเบา รักป่า เนียน เป็นต้น มักพบ ไผ่ป่า หวาย ปาล์ม ขึ้นปะปน ไม้เลื้อย ไม้เถาว์ที่พบ เช่น พลูฉีก เสี้ยวเครือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้และกาฝากเกาะตามกิ่งก้านไม้ขนาดใหญ่
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหาพบได้ยาก ได้แก่ ละมุดป่า และงวงช้างทะเล พบเฉพาะเกาะใหญ่ในทะเลอันดามัน พืชที่กินผลหรือใบอ่อนได้ เช่น ละมุดป่า มะปริง มะหวด เนียง ผักหวาน และชิงชี่ เป็นต้น
       
สัตว์ป่า จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น ค้างคาวแม่ไก่เกาะ ค้างคาวปีกถุงเคราดำ พญากระรอกดำ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น โลมาหัวขวด เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย เต่าทะเลที่สำคัญได้แก่ เต่ามะเฟือง เต่ากระ นอกจากนี้ยังพบพวกเหี้ย แลน กระรอก เป็นจำนวนมาก ส่วนจำพวกงู ไม่เคยพบงูที่มีพิษ งูที่พบมากได้แก่ งูเหลือม
นก ที่พบได้บ่อยในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีดังนี้
1. นกที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย และไม่อพยพย้ายถิ่น เช่น เหยี่ยวแดง นกกวัก เป็นต้น
2. นกที่จัดเป็นนกอพยพ เข้ามาในประเทศไทยบางฤดูกาล เช่น นกปากซ่อมหางเข็ม นกเด้าลมหลังเทา
3. นกประจำถิ่นและบางครั้งมีการอพยพย้ายถิ่น ได้แก่ นกนางแอ่นบ้าน นกยางควาย นกอีลุ้ม และนกนางนวลแกลบสีกุหลาบ เป็นต้น
ปลา ที่สำคัญที่พบเป็นพวกปลาทะเล ได้แก่ ปลาฉลาม ปลากระโทงเทง ปลากระเบน ปลาบิน ปักเป้าทะเล รวมตลอดถึงปลาที่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งปะการังอีกหลายชนิด เช่น ปลาผีเสื้อ ปลานางฟ้า และปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกหลายชนิด
สัตว์ประเภทอื่นที่สำคัญ สำหรับพันธุ์สัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่สำคัญที่สุด ได้แก่ ปะการัง และแมงกระพรุน ซึ่งปะการังโดยรอบหมู่เกาะสิมิลัน ส่วนใหญ่เป็นปะการังน้ำลึก เท่าที่สำรวจพบ ได้แก่ ปะการังใบไม้ ปะการังแปรงล้างขวด ปะการังรูพรุน นอกจากนี้ยังมีปะการังที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และปะการังพรุนแบบฟองน้ำอีกหลายชนิด ทั้งยังพบพวกกัลปังหาอีกเป็นจำนวนมากด้วย
เหนือระดับน้ำทะเลรอบเกาะแต่ละหาดป่าซึ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจะกลายเป็นป่าเขตร้อนที่อยู่ภายในประเทศต่อไป พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ Manilkara SP Cordia subcordia และ Tournefotia argentia การสำรวจในปี 1992 พบว่า 39 ชนิดของนกสามารถพบได้ในเก้าเกาะ ชนิดที่มีถิ่นที่อยู่รวมถึงการ Brahminy Kite และ Waterhen กระดุมสีขาวในขณะที่การอพยพย้ายถิ่นชนิดรวม Pintail ปากซ่อมและสีเทานกชนิดหนึ่ง ชนิดที่มีการอพยพชั่วคราวรวม Swallow The Barn, โคนกกระยาง, Watercock และ เถินผ่องใส ชนิดที่เห็นมากที่สุดรวมถึงแนวปะการังในมหาสมุทรแปซิฟิก - นกกระยาง, นกพิราบนิโคบาร์, Pied Imperial Pigeon, สีขาวขลาด - Sea Eagle และ Collared Kingfisher.
สภาพแวดล้อมของหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกาะเล็ก ๆ ที่คุณไปคุณจะไม่ไกลจากทะเล ธรรมชาติสำรองน้ำจืดมีเพียงไม่กี่และเป็นผลให้สายพันธุ์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ไม่สามารถอยู่ได้ การสำรวจเปิดเผยว่ามี 27 ชนิดของสัตว์ขนาดเล็กที่มีอยู่ภายในอุทยานฯ รวมทั้ง 16 ชนิดของค้างคาว ได้แก่ ค้างคาวสุสานดำมีหนวดมีเคราที่ค้างคาวแวมไพร์น้อยเท็จค้างคาวเกือกม้ากลาง, ค้างคาวงอปีกน้อยและค้างคาวโล้น . 3 ชนิดของกระรอกสามารถพบได้รวมทั้งสีเทายุ้ยกระรอกบิน 4 ชนิดของหนู : ราชาหนูสีเหลืองที่หนู ricefield หนูหลังคาและหนูมีเสียงดังจะเห็นได้เผ่นหนีไปรอบ ๆ เช่นกัน สุดท้ายที่อาศัยอยู่ในมากขึ้น แต่ unusal กันอย่างเป็นธรรมรวมถึงการเม่นพุ่มไม้นกที่พบโดยทั่วไปปาล์มอีเห็นสัตว์จำพวกลิงบินและปลาโลมา bottlenosed 22 ชนิดของสัตว์เลื้อยคลานครึ่งบกครึ่งน้ำและสามารถพบได้ในสวนรวมทั้งงูสามเหลี่ยมแถบ, หลาม, สีขาว lipped หลุม Viper, หลุมงูพิษที่พบบ่อย, สวนจิ้งจกสีฟ้า, reticulated กระเต่าหนัง, จิ้งจกเบงกอลตรวจสอบน้ำจิ้งจกทั่วไปของจอภาพ, หรูหรา froglet กบ Asiatic ทั่วไปบึงกบและกบพุ่มไม้ที่พบโดยทั่วไป สุดท้ายอีกชนิดที่น่าสนใจมากที่สุดอยู่ในเกาะสิมิลันเรียกว่าขาภูเขาที่ขนปูที่ดิน ปูนี้จะพบในจำนวนมากเช่นคุณจะต้องแน่ใจว่าเห็นหลายเพียงแค่เดินไปรอบ ๆ เล็กน้อย ไม่ว่าคุณจะอยู่บนเกาะไม่เห็นสิ่งมีชีวิตนี้จะได้รับการแจ้งเตือนคุณจะไม่ไกลจากน้ำ


ปัญหาและการอนุรักษ์ 
พื้นที่บริเวณโดยรอบของเกาะหนึ่ง สอง และสาม หรือ เกาะหูยง เกาะปายัง และเกาะปาหยันได้ถูกสงวนให้เป็นพื้นที่วางไข่ของเต่าทะเล และห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นเกาะโดยเด็ดขาด นอกจากนี้แล้วในปี พ.ศ. 2543 ทางกรมป่าไม้ในขณะนั้นได้สั่งปิดกองหินแฟนตาซ ซึ่งเป็นกองหินที่เคยสวยงามติดอันดับหนึ่งในสิบของโลกลง เนื่องจากสภาพของกองหินที่ทรุดโทรมลงอย่างมาก จากปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไป
นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญของหมู่เกาะสิมิลันอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาการลักลอบจับปลาอย่างผิดกฎหมายจากจากชาวประมงในพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณเกาะบอน และเกาะตาชัยที่พบปัญหาการระเบิดปลาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักของปัญหานี้ คือ ความห่างไกลของเกาะทั้งสองทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง 
ในปี พ.ศ. 2550 ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ประกาศจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลัน 




ขอขอบคุณ 
http://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=212
http://www.oknation.net/blog/poonkaew/2013/01/28/entry-1
http://similantourism.freevar.com/Similan%20Island.html

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.