วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เกาะสุรินทร์

เกาะสุรินทร์


หมู่เกาะสุรินทร์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 มีขนาดพื้นที่ 135 ตารางกิโลเมตร (84,357 ไร่) เป็นพื้นที่เกาะร้อยละ 24 ที่เหลือเป็นทะเล ประกอบด้วย 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี (สต็อคหรือไฟแว๊บ) เกาะกลาง (ปาจุมบาหรือมังกร) และเกาะไข่ (ตอรินลา) บริเวณใกล้เคียงยังมีหินแพและหินกอง และทางทิศตะวันออก ห่างจากเกาะประมาณ 14 กิโลเมตร มีกองหินโผล่น้ำที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องการดำน้ำลึกชื่อว่า ริเชลิ่ว ปัจจุบันกำลังผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ระบบนิเวศ - ความหลากหลายทางชีวภาพ
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ไม่ได้เป็นแค่เพียงสถานที่ให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนเยี่ยมชมหาความสำราญสนุกสนานเฮอาเท่านั้น แต่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ยังเป็นสถานที่ซึ่งมีคุณค่าอันประเมินไม่ได้ เป็นมรดกทางธรรมชาติ และยังเป็นแหล่งความรู้สำหรับทุกคน เป็นที่รวมของธรรมชาติทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ป่ามากมายหลายชนิด อาจกล่าวได้ว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นห้องเรียนธรรมชาติที่สมบูรณ์บริสุทธิ์ เป็นที่รวมของระบบนิเวศจากป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลน มาประจบกับแนวปะการัง ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่หลากหลายที่สุดในท้องทะเล และด้วยอาณาเขตที่ครอบคลุมทั้งทะเลและพื้นป่าอันสุดสมบูรณ์ จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ตั้งแต่ปลาใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ฉลามวาฬ จนถึงนกหายากอย่าง กระแตผีชายหาด ชาปีไหน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น บ่าง ที่ร่อนไปมาให้เห็นกันบ่อย ๆ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่ผู้ไปเยือนจะก่อความเสียหาย ทำลาย หรือแม้แต่กระทำการรบกวน ต่อเจ้าของบ้าน เช่น ปูเสฉวนตัวเล็ก ๆ สักตัวเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะประมาณ 2 กิโลเมตรจากที่ทำการ ฯสู่หาดไม้งาม การเดินทางควรใช้เวลาไป กลับ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อการซึมซับถึงความเป็นสุดยอดของเส้นทางที่รวมความหลากหลายของป่าดิบจนถึงแนวปะการังไว้ในที่แห่งเดียว จึงจำเป็นที่ทุกคนท่มาเยือนเกาะแห่งนี้ต้องมาสัมผัส
หมู่เกาะชาวเล มอแกน เป็นชุมชนเผ่าเร่ร่อนที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้มากที่สุด ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ หมู่เกาะสุรินทร์บริเวณอ่าวไทรเอน ละอ่าวบอน นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองเดิม ที่น่าเยี่ยมชม

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและกิจกรรมที่น่าสนใจ
  -  เกาะสุรินทร์เหนือ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีบ้านพัก ร้านอาหาร อุปกรณ์ดำน้ำตื้นและเรือหางยาว เกาะสุรินทร์เหนือมีภูมิสัณฐานที่เป็นอ่าวเว้าแหว่งอยู่รอบ แต่ละแห่งล้วนกว้างใหญ่ สวยงามและสงบ จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมกางเต็นท์มากที่สุดคือบริเวณหน้าอ่าวช่องขาด ตรงข้ามกับเกาะสุรินทร์ใต้ และบริเวณนี้ยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ตกที่สวยงามมาก รองลงมาคือลานกว้างเหนือหาดที่อ่าวไม้งาม ส่วนอ่าวอื่น ๆ ต้องนั่งเรือหางยาว เช่น อ่าวจาก ใช้เวลานั่งเรือประมาณ 45 นาที
   -  เกาะสุรินทร์ใต้ มีจุดที่น่าสนใจหลายแห่ง แต่ต้องนั่งเรือไปจากเกาะสุรินทร์เหนือเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการดำน้ำตื้นรอบๆเกาะ จุดเด่นคือ อ่าวสุเทพ อ่าวผักกาด และจุดที่นักท่องเที่ยวมีโอกาสพบเต่ามากที่สุดก็คือ เกาเต่า 
   -   ดำน้ำลึก หมู่เกาะสุรินทร์มีแหล่งดำน้ำลึกที่สวยงามมากมายโดยเฉพาะที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือ กองหินปริ่มน้ำที่มีชื่อว่า ริเชลิว ซึ่งกำลังจะถูกผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ กองหินนี้อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์มาทางทิศตะวันออกประมาณ 14 กิโลเมตร สำหรับนักดำน้ำที่สนใจสามารถติดต่อกับทัวร์ได้ทั่วไป ส่วนจุดดำน้ำลึกรอบเกาะนั้นก็มีอยู่หลายแห่ง
  -  ดำน้ำตื้น ในบริเวณอ่าวรอบๆ หมู่เกาะสุรินทร์เกือบทุกอ่าวจะเต็มไปด้วยแนวปะการังแข็งที่สมบูรณ์ที่สุดของท้องทเลไทย เป็นที่อาศัย หากิน หลบภัย และขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากในระบบนิเวศ ทั้งหมดนี้สามารถชมได้เพียงก้มมองใต้ผิวน้ำ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงไม่พลาดโอกาส ที่จะต้องลงดำน้ำตื้นเมื่อมาถึงหมู่เกาะสุรินทร์

จุดดำน้ำตื้นที่สำคัญของเกาะสุรินทร์
1.อ่าวแม่ยาย มีปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หอยมือเสือ
2.หินกอง บริเวณนีมีปลาใหญ่เยอะหน่อยครับ
3.อ่าวเต่า มีปลาและหนอนพู่ฉัตร
4.อ่าวมังกร จะมีกลุ่มดอกไม้ทะเลและปลาการ์ตูน
5.เกาะตอรินล่า มีเต่าทะเล ปลาฉลามหูดำและแนวปะการังเขากวาง
6.อ่าวสุเทพ มีกัลปังหา ปะการังและปลาตามพื้นหน้าดิน อาทิปลากระเบน ปลาโรนัล
7.อ่าวไม้งาม มีปลาเยอะครับ
8.อ่าวจาก บริเวณนี้มีปะการังและปลาเยอะ
9.อ่าวผักกาด เน้นดูปลานานาชนิด
10.เกาะสต๊อค ที่นี่มีปลาใหญๆให้ดูเยอะ

กฎระเบียบข้อห้าม  (ข้อมูลจากการบอกกล่าวของเจ้าหน้าที่อุทยานฯเกาะสุรินทร์)
การท่องเที่ยวพักผ่อนในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีกฎระเบียบที่นักท่องเที่ยวผู้มีจิตสำนึกทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการใช้พื้นที่ร่วมกันอย่างยั่งยืนถาวร ดังนี้
-ไม่เก็บทุกอย่างออกจากพื้นที่นอกจากขยะ
-ไม่ส่งเสียงดังอันเป็นที่รบกวนผู้อื่นรวมทั้งสัตว์ป่า
-ไม่ล่า ทำลาย หรือกระทำการใดๆ อันจะทำให้พืช สัตว์ และสภาพแวดล้อมเสียหาย
-จงตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ที่เราทุกคนต้องใช้ร่วมกันและรักษาไว้เพื่อตัวเราเองและลูกหลานสืบไป

ค่าธรรมเนียมบุคคลเข้าเขตอุทยานแห่งชาติ 
คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท / เด็ก 20 บาท
ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท / เด็ก 100 บาท
ค่าธรรมเนียมดำน้ำลึก : คนไทยและต่างชาติ 200 บาท/คน/วัน
ค่าเช่าอุปกรณ์ดำน้ำ : หน้ากาก 100 บาท/วัน, ตีนกบ 100 บาท/วัน, ชูชีพ 50 บาท/วันข้อห้ามดำเนินการในเขตอุทยานฯ 
1.ห้ามก่อกองไฟ
2.ห้ามประกอบอาหาร
3.ห้ามจุดเทียนไขในเต้นท์
4.ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
5.ห้ามเคลื่นย้ายเครื่องนอนทั้งในบ้านพักและเต็นท์
6.ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ
7.ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อุทยานฯอย่างเคร่งครัดการเดินทาง
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ช่วงกิโลเมตรที่ 720 (ห่างจากตัวอำเภอคุระบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร) จะมีทางแยกไปท่าเรือคุระบุรีอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงที่ทำการและศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ 
หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งสายใต้สามารถไปได้ทุกคันที่ผ่านอำเภอคุระบุรี ลงที่ทางแยกไปท่าเรือคุระบุรีหรือที่ตัวอำเภอคุระบุรีแล้วต่อรถมาที่ท่าเรือ
ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม เป็นฤดูท่องเที่ยว มีเรือโดยสารจากท่าเรือคุระบุรีไปเกาะสุรินทร์ทุกวัน ออกเวลา 9.00 น. ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง และเที่ยวกลับออกจากเกาะสุรินทร์เวลา 10.00 น. ถึงฝั่งประมาณ 14.00 น.
เกาะสุรินทร์มีพื้นที่จำกัดอยู่ห่างจากฝั่ง 60 กิโลเมตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนจำกัด การเดินทางไปเกาะสุรินทร์จึงต้องติดต่อล่วงหน้าเท่านั้น 
ติดต่อสำรองที่พักที่ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมป่าไม้ โทร.0-2561-2918, 0-2561-2921, 0-2561-4292-4 ต่อ 746 หรือที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โทร.0-7649-1378, 0-7649-1582 โทรสาร 0-7649-1583


ขอขอบคุณ
http://variety.eduzones.com/travel/2009/10/21/หมู่เกาะสุรินทร์-ถิ่นอ/
http://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
http://www.oceansmile.com/S/Phangnga/ForestSeaSurin.htm

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.