เกาะตะรุเตา อดีตเรือนจำกลางทะเล
ข้อมูลทั่วไป
“ตะรุเตา”
เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโละเตรา”
ในภาษามลายู แปลว่า มีอ่าวมาก ตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามัน
บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติ ห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร
อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวทั่วไป
เนื่องจากเป็นจุดรวมของความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะ และในน้ำ
มีป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด
ในน้ำก็งดงามด้วยกลุ่มปะการังหลากสีสวยสด จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก
ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ
รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490
ตารางกิโลเมตร
พุทธศักราช 2479 มีการประกาศพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นโจรผู้ร้าย
กรมราชทัณฑ์จึงหาสถานที่ที่มีภูมิประเทศเหมาะสม
ซึ่งในที่สุดได้เลือกเกาะตะรุเตาและจัดตั้งขึ้นเป็นทัณฑสถาน โดยเมื่อวันที่ 13
กรกฎาคม 2480 กลุ่มบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์
ภายใต้การนำของขุนพิธานทัณฑทัย
ได้ขึ้นสำรวจเกาะตะรุเตาบริเวณอ่าวตะโละอุดังและอ่าวตะโละวาว เพื่อจัดทำเป็น “ทัณฑสถาน” โดยฟันฝ่าอุปสรรคทางธรรมชาตินานัปการเป็นเวลา
11 เดือน งานบุกเบิกจึงสิ้นสุดลง หลังจากเดือนมิถุนายน 2481
เกาะตะรุเตาก็เป็นทัณฑสถานและเป็นนิคมฝึกอาชีพของนักโทษเด็ดขาด
และนักโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย
ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะนี้
เพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า 566 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2482
ปลายปี พ.ศ.2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมืองจากคดี
กบฏบวรเดช (พ.ศ.2476) และกบฏนายสิบ (พ.ศ.2478) จำนวน 70 นาย
มายังเกาะตะรุเตาซึ่งถูกกักบริเวณไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง
จากสงครามสงครามเอเชียบูรพา (พ.ศ.2484-2488) เกาะตะรุเตาถูกตัดขาดออกจากแผ่นดินใหญ่
เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ยา และเครื่องใช้ต่างๆ ต้นปี พ.ศ.2487 ผู้คุมนักโทษได้ทำตัวเป็นโจรสลัดเข้าปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าชาวไทยและต่างประเทศที่แล่นแผ่นไปมา
ในที่สุดรัฐบาลไทยและทหารอังกฤษได้เข้าปราบโจรสลัดเกาะตะรุเตาสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2489
และอีกสองปีต่อมากรมราชทัณฑ์ จึงได้ยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 กรมป่าไม้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เสนอให้จัดที่ดินบริเวณเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง
เกาะราวี และเกาะอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันเป็นอุทยานแห่งชาติ
ซึ่งสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2515
ชอบในหลักการ ดังนั้นในเดือนมีนาคม 2516 นายเต็ม
สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญทางพฤกษศาสตร์ป่าไม้ นายไพโรจน์ สุวรรณากร
หัวหน้ากองอุทยานแห่งชาติ และคณะ จึงได้เดินทางไปสำรวจเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง-ราวี
และหมู่เกาะใกล้เคียง ปรากฏว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงาม
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีสภาพธรรมชาติที่น่าสนใจ
เหมาะแก่การจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล
ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2516 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2516 ให้ดำเนินการจัดตั้งเกาะตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติโดยเร็ว
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ได้มีคำสั่งที่ 960/2516
ลงวันที่ 11 กันยายน 2516 ให้ นายบุญเรือง สายศร นักวิชาการป่าไม้ตรี และนายปรีชา รัตนาภรณ์
นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการจัดตั้งเกาะดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ
และกรมป่าไม้ได้ดำเนินการขอถอนสภาพจากการเป็นเขตหวงห้ามเพื่อการราชทัณฑ์ในบริเวณที่ดินดังกล่าว
จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง
เกาะราวี และเกาะอื่นๆ ในท้องที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
รวมเนื้อที่ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติตะรุเตา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม
91 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 19 เมษายน 2517 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 8
ของประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2525 อุทยานแห่งชาติตะรุเตาได้รับการยกย่องจากองค์การ
UNESCO ให้เป็น มรดกแห่งอาเชียน (ASEAN Heritage
Parks and Reserves)
นาวาเอก พระยาศราภัยพิพัฒ (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432
– 21 กันยายน พ.ศ. 2511) นักหนังสือพิมพ์
อดีตปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และวุฒิสมาชิก
พระยาศราภัยพิพัฒ มีชื่อจริงว่า
เลื่อน ศราภัยวานิช
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญรุ่นเดียวกับพระยาอนุมานราชธน
และไปศึกษาต่อด้านสื่อสารมวลชน จากSchool of Journalism เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
สมรสกับ หม่อมหลวงฉลอง ศราภัยวานิช
พระยาศราภัยพิพัฒ
ได้รับราชการเป็นนายเวรวิเศษ เลขาประจำตัวของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
ตำแหน่งสุดท้ายเป็นเจ้ากรมเสมียนตรา และปลัดทูลฉลอง กระทรวงกลาโหม
ถูกปลดออกจากราชการหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 พร้อมกับทำงานด้านหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์
ไปพร้อมกับนายหลุย คีรีวัต นายสอ เศรษฐบุตร เป็นต้น
หนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ที่พระยาศราภัยพิพัฒ
นั้นได้ถูกเพ่งเล็งจากฝ่ายรัฐบาล ว่าเป็นสื่อที่สนับสนุนการปกครองแบบเก่า
หลังเหตุการณ์กบฏบวรเดช ในปี พ.ศ. 2476 และพระยาศราภัยพิพัฒเขียนบทความชื่อ “ฟ้องในหลวง” โจมตี กรณีนายถวัติ ฤทธิ์เดช
ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อศาลอาญา
อีกทั้งยังเดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ปีนัง
พระยาศราภัยพิพัฒและพวกถูกหมายจับในข้อหาแจกใบปลิวเถื่อนและปลุกระดมการกบฏ
จึงหลบหนีด้วยการลงเรือตังเกหนีลงทะเล แต่ถูกจับได้ที่อ่าวไทย
หลังจากนั้นจึงถูกส่งไปจำคุกในฐานะนักโทษการเมือง
ที่เกาะตะรุเตา พร้อมกับนักโทษคนสำคัญอีกหลายคน จนกระทั่งในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2482
เวลาประมาณ 23.00 น. พระยาศราภัยพิพัฒ
พร้อมกับเพื่อนนักโทษอีก 4 คน คือ พระยาสุรพันธ์เสนี,
ขุนอัศนีรัถการ, นายหลุย คีรีวัต และ นายแฉล้ม
เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ ได้หลบหนีจากที่คุมขังเกาะตะรุเตา ในคืนเดือนหงาย
พร้อมกับพกมีดชายธงคนละเล่ม ซ่อนตัวในแหเรือตังเก ไปยังเกาะลังกาวีของมาเลเซีย
พร้อมกับได้ขอลี้ภัยการเมือง ณ ที่ประเทศมาเลเซีย
ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่
ซึ่งทั้งหมดได้สาบานกันว่าจะสู้ตายหากถูกจับได้
บุตรชายของพระยาศราภัยพิพัฒ ชื่อ
เลอพงษ์ ศราภัยวานิช เป็นนิสิตคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้เดินทางไปเยี่ยมบิดาระหว่างปิดภาคเรียน และเขียนบทความชื่อ “เยี่ยมพ่อ” ตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2484 ได้ถูกคำสั่งของ พันเอกประยูร ภมรมนตรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย
ให้คัดชื่อออกจากการเป็นนักศึกษา
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ทำหน้าที่เป็นโฆษกสถานีวิทยุของออสเตรเลีย ภาคภาษาไทย ให้การสนับสนุนเสรีไทย
ภายหลังสงครามที่ได้มีการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทั้งหมดแล้ว
พระยาศราภัยพิพัฒได้พ้นโทษออกมา และได้แต่งหนังสือชื่อ ฝันร้ายของข้าพเจ้า
ที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตทางการเมืองและการถูกคุมขังที่คุกตะรุเตา
พร้อมกับได้ร่วมกับเพื่อน ๆ นักเขียนและผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกัน
ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้น ในปี พ.ศ. 2489 และได้เป็น
ส.ส.ของพรรคอีกด้วย และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490
ในบั้นปลายชีวิต พระยาศราภัยพิพัฒ
ได้รับเชิญให้เขียนบทวิเคราะห์การเมือง ในหนังสือพิมพ์ “ปิยมิตร” เป็นครั้งคราว ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ ได้เขียนพาดพิงถึงเรือนจำลาดยาว ว่าเป็น “สถานที่ราชการที่ไม่มีวันเดือนปี”
(หมายความว่า
มีนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังโดยไม่รู้ว่าจะได้รับการปล่อยตัวเมื่อไร)
ทำให้ตำรวจสันติบาลเรียกตัวบรรณาธิการไปสอบสวน
พระยาศราภัยพิพัฒจึงได้ประกาศหยุดเขียน จากนั้นไม่นาน
เจ้าพนักงานการพิมพ์ก็ได้มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ปิยมิตรลง
พระยาศราภัยพิพัฒ
เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2511 ด้วยโรคหัวใจ อายุ 79 ปี
เมื่อพูดถึงเกาะตะรุเตาทุกคนมักจะต้องคิดถึงดินแดนแห่งการกักกัน
คุมขัง นักโทษ การเมือง และนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ เมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว
เมื่อผู้เขียนเป็นนักเรียนโรงเรียน ประจำ จังหวัดสิงห์บุรี ” สิงหวัฒพาห “
วัดบางพุทธา จังหวัดสิงห์บุรี ได้เคยดูภาพยนตร์เรื่อง ” ตะรุเตา “ มาแล้วยังมีเจตคติที่ว่า
ตะรุเตาเป็นดินแดนนรก เป็นคุกของนักโทษผู้คุมนักโทษ ขนหิน นักโทษถูกเฆี่ยนตี
ดินแดนนี้คือ นรกแท้ ๆ ชุกชุมไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ไข้ป่า มาลาเรีย ฉลามร้าย
ผู้ใดเข้าไปแล้วยากแก่การหลบหนี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทยได้เล็งเห็น
ถึงจุดนี้จึงใช้เกาะตะรุเตาเป็นจุดคุ้มกันนักโทษ
ปัจจุบันตะรุเตาได้รับการสนับสนุนให้เป็นอุทยานแห่งชาติอันล้ำค่าของอันดามัน
บริเวณช่องแคบ มะละกา มหาสมุทรอินเดีย เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลของประเทศไทยที่
สวยงามมาก ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง
จังหวัดสตูลห่างจากตัวเมืองสตูลไปทาง ทิศ ตะวันตก ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
การเดินทางไปเกาะตะรุเตาง่ายและสะดวกมาก โดยนั่ง เรือจาก ปากบารา อำเภอละงู
จังหวัดสตูล ตรงไปยังเกาะตะรุเตา หรือจากสตูลท่าเรือตัมมะลัง
ตรงไปยังเกาะตะรุเตาได้เลย
ตะรุเตาในอดีต
ในปี พ.ศ.๒๔๘๐
คณะบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจ
เกาะตะรุเตาเพื่อจัดเป็นทัณฑสถาน โดยฟันฝ่าอุปสรรคทางธรรมชาตินานัปการ เวลา
๑๑เดือน ผ่านไปงานบุกเบิกจึงสำเร็จลุล่วง
ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทางราชการประกาศใช้
พระราชกฤษฎีกาให้ตะรุเตาเป็นเขต หวงห้ามไว้ใช้ในกรมราชทัณฑ์
เพื่อใช้เป็นสถานที่กักกันนักโทษ หรือป้อมฝึกวิชาชีพ เกาะตะรุ
เตามีทะเลอันกว้างใหญ่เป็นกำแพงกั้นตามธรรมชาติ ยากแก่การหลบหนี
จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้น ประวัติศาสตร์แห่งตะรุเตา
นิคมหรือป้อมฝึกอาชีพเกาะตะรุเตา มีฐานะเป็นกองผู้บัญชาการ
มีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ เป็นข้าราชการชั้นเอก ชื่อขุนอภิพัฒน์ สุรทัณฑ์ (เนื่อง
มาสะวิสุทธิ์) หน่วยของ นิคมฝึกอาชีพบนเกาะตะรุเตา แบ่งเป็น ๓ แผนก คือ
๑. แผนกอำนวยการ
๒. แผนกงาน
๓. แผนกควบคุม
แต่ละแผนกมีหัวหน้า คือ พัศดี
รับผิดชอบ กองบัญชาการ ซึ่งเป็นที่ทำงานของขุน อภิพัฒน์ มี ๒ แห่ง ที่เกาะตะรุเตา
บริเวณอ่าวตะโละวาว และที่จังหวัดสตูล ขุนอภิพัฒน์ มีร่าง อ้วนใหญ่ ผิวคล้ำ
นัยน์ตาดุ ค่อนข้างนักเลง เหมาะสมแล้วที่เป็นผู้คุมนักโทษ
นักโทษที่ส่งไปควบคุมที่เกาะตะรุเตา มี ๒ พวก คือ นักโทษทั่วไป และนักโทษการ เมือง
นักโทษทั่วไปส่งไปจากคุกต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีคดีอุกฉกรรจ์ ส่วนนักโทษการเมือง
มีแนวคิดตรงข้ามกับรัฐบาล เป็นนักโทษ ” กบฏบวรเดช ” จากบางขวางนักโทษทั้งสองกลุ่ม
นี้มีความแตกต่างกันมากในด้านความคิด ความอ่าน จึงอยู่รวมกันไม่ได้
นักโทษการเมือง
ถูกควบคุมตัวทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุดัง ห่าง เกาะลังกาวี มาเลเซีย
เพียง ๔ กิโลเมตร นักโทษทั่วไปถูกกักกันบริเวณอ่าว ตะโละวาว อยู่ ทาง
ตอนเหนือตามแนวถนนที่นักโทษสร้าง ขึ้นราว ๑๐ กิโลเมตร บ้านนักโทษสร้างเป็นเรือน
ขนาดใหญ่ พักรวมกันหลายคน ตามหลักฐานว่า มีนักโทษหญิงด้วย ประมาณ ๒๐ คนแต่กักกัน
ให้อยู่พิเศษ มีการแบ่งย่อยเป็นแดน ๆ แต่ละแดนมีโรงครัวและที่กินอาหาร
บ้านผู้คุม พัศดี
สร้างเป็นเรือนไม้ค่อนข้างถาวร บ้านพักผู้บัญชาการ ตั้งอยู่บนเนิน สูงตระหง่าน
ห่างจากทะเลประมาณ ๘๐ เมตร
ชีวิตนักการเมืองไม่แน่นอนมีโชควาสนาก็ได้เป็นใหญ่เป็นโตมียศศักดิ์
แต่เมื่อตก อับก็อยู่ในคุกตาราง…นี่คือ การเมือง !
นักโทษการเมือง ที่ส่งไปคุมขัง ณ ตะรุเตา จากเรือนจำกลางบางขวาง
ต้องคดีกบฏ บวรเดช มีดังนี้
๑. หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นนักโทษการเมืองคนสำคัญ ทางราชการ
สร้างที่ ประทับและถวายอารักขาอย่างดีเยี่ยม มีความรู้ทางเกษตร เช่น
ปลูกแตงกวาบนพื้น ทราย ปลูกมะพร้าวพันธุ์พื้นเมือง เลี้ยงเป็ด ไก่
ได้ผลเป็นที่น่าชื่นชม เมื่อทรงพ้นโทษแล้วก็ได ้
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๑ สมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็น
นายกรัฐมนตรี
๒. นาวาเอก พระยาศราภัย พิพัฒน์ (เลื่อน ศราภัยวานิช)
ต้องโทษตลอดชีวิต มี ความผิดมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ มีสมญานามว่า นักโทษปาปิญอง
คิดแต่จะหนี แล้วก็หนี พอไป อยู่เกาะเห็นเกาะลังกาวีอยู่ลิบ ๆ ก็วางแผนอยู่วันแล้ววันเล่าคิดแต่จะหนีท่าเดียว
๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๒ พระยาศราภัยพิพัฒน์ พร้อมเพื่อนนักโทษ ๔ คน
ลงเรือ ฝ่าดงฉลามข้ามไปยัง เกาะลังกาวีได้ เมื่อรัฐบาลออกพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรม
นักโทษ การเมืองผู้นี้จึงกลับสู่มา ตุภูมิ
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ – ๒๔๙๑ และได้รับ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สมัย นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
๓. หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เศรษฐบุตร) ต้องโทษเดียวกันกับพระยาศราภัย
พิพัฒน์ สำเร็จวิศวกรรมศาสตร์จากอังกฤษ
ใช้เวลาตอนที่ติดคุกอยู่บางขวางในการแปลดิกชัน นารี เอนไซ โคลปิเดีย จาก A – Z จบที่บางขวาง
เริ่มเขียนต่อที่เกาะตะรุเตา และจบบริบูรณ์ เมื่อถูกส่งไปควบคุมที่เกาะเต่าจังหวัด
สุราษฎร์ธานี ต้องทนทุกข์ทรมานหมอบกับพื้น เขียน หนังสือ
ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนทุกวันนี้
๔. นายหลุย ศิริวัตร ครูสอนภาษาฝรั่งเศส
๕. นาวาเอก พระแสงสิทธิการ เหรัญญิก สภากาชาดสยาม ผู้เป็นทูตถือสาส์น
ถึงพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐบาลยอมแพ้กองทัพกบฏ ผลคือถูกจับ
และสิ้นชีวิตที่เกาะตะรุเตา
๖. หม่อมหลวง ทวีวงษ์ วัชรีพงษ์
ชอบเล่นกีตาร์และเป็นครูสอนตัดเสื้อแก่นักโทษ
๗. นายอรุณ บุนนาค สารวัตรรถจักรภาคอีสานผู้ขับรถไฟฮาโมแนก ประสานงา
กับรถไฟหุ้มเกราะบรรทุกปืนใหญ่ของฝ่ายรัฐบาล บริเวณสับเปลี่ยนรถไฟบางเขน
หมกมุ่นกับ การค้นคว้าหนังสือ
บรรดานักโทษการเมืองหลายคนถูกปล่อยเกาะตะรุเตา ๔ – ๕ ปี บางคนถูกส่งตัว
ไป ขังต่อที่ เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปลายสงครามโลก ครั้งที่ ๒ นาย ควง
อภัยวงศ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
เมื่อ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๗ นักโทษถือว่าไม่มีความผิดจึงมีอิสระทั่วหน้ากัน
บางคนก็เล่นการเมือง ต่อ เช่น หม่อมเจ้า สิทธิกร กฤดากร โชติ คุ้มพันธ์ ไตย
สุวรรณทัต และ พระยาสุรพันธ์ เสนีย์ หนึ่งในนักโทษปาปิญอง ได้ดำรงตำแหน่ง
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยต่อมา
สลัดตะรุเตา
ปี พ.ศ.๒๔๘๗ เกิดสลัดตะรุเตาขึ้น เป็นที่
หวั่นเกรงและหวาดกลัวของผู้เดินทาง ผ่านน่านน้ำ ตะรุเตาอย่างมาก
แม้จะมีการปราบปรามแต่ก็ไร้ผล
การติดต่อลำบากยากเข็ญ
ทุกข์ยาก เกิดขึ้นบนเกาะตะรุเตา ตะรุเตาเป็นสถานที่ ทรมาน
จิตใจนักโทษอย่างแสนสาหัส และเจ็บปวดไปชั่วชีวิต เพราะพวกเขาถูกตัดขาดจาก
โลกภายนอก นรกบนพื้นพิภพก็คือตะรุเตา สมัยนั้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ กำลังเกิดอยู่
นักโทษ ไม่อาจล่วงรู้ชะตากรรมของชาติบ้านเมือง ความอดอยาก
หิวโหยได้ย่างกรายเข้าสู่นรกแห่ง อันดามันแล้ว ความเป็นอยู่ของนักโทษเลวลง
ผู้คุมคิดไม่ซื่อมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง กักตุน อาหาร หยูกยา วัสดุเครื่องใช้
เพื่อประโยชน์ของตนและพรรคพวก บ้างก็เอาไปขาย ใครไม่มี เงินซื้อก็ช่วยไม่ได้
อาหารการกินก็ไม่ได้แบ่งสัน ปันส่วนให้นักโทษ นักโทษเลยฆ่ากันตาย
เพราะผิดใจกันเรื่องน้ำปลาก็มี เสื้อผ้าแต่งกันตามมีตามเกิด
นอกจากนี้ผู้คุมยังนำเอายาเสพ ติด มาขายให้นักโทษ
นักโทษติดยาเสพติดเกิดทะเลาะวิวาทฆ่ากันตายมากยิ่งขึ้น เพราะแย่ง ยาเสพติด
ยิ่งกว่านั้นไข้มาลาเรียกลืนชีวิตนักโทษ คนแล้วคนเล่า ยารักษาหายากเพราะยาม สงคราม
คนที่ตกอยู่ในสภาพนี้ย่อมต้องหาทางออก และทางออกที่ดีที่สุด คือ ” ปล้น ” ความคิดที่จะปล้นเรือสินค้าเกิดจากนักโทษทั่วไปมิใช่นักโทษการเมือง
ขั้นแรกนัก โทษได้หาเรือลักลอบออกไปในทะเล แล้วไปขออาหารจากไต๋กงเรือเป็นการขอกินอย่างดื้อ
ๆ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้มาแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ ผู้คุมและพัศดีไม่ทราบเรื่อง
ขั้นต่อมาเมื่อขอบ่อย เข้าก็นึกกระดากใจ จึงใช้วิธีการปล้น
แล้วนำมาซ่อนไว้ตามโขดหิน ผู้คุมเริ่มรู้แล้ว เจ้าทุกข์ ร้องเรียนไปยังตำรวจ
หากมีหลักฐานผูกมัดนักโทษคนใดก็ถูกลงโทษ มีการห้ามปรามและลง โทษอย่างหนัก
แต่นักโทษมิได้เกรงกลัวกลับหาวิธีการที่จะให้ผู้คุมเข้าไปมีส่วนด้วย คือนำสิน
ค้าที่ได้มาส่วนหนึ่งเป็นของกำนัลแก่ผู้คุม พัศดี และตำรวจ
สินค้าบางอย่างนำไปแลกเป็นเงิน ได้ ตอนนี้ผู้คุม ตำรวจเริ่มอยู่เฉย ไม่ห้ามปราม
หุบปาก บางคนยอมขายได้แม้กระทั่งเกียรติ ยศ ชื่อเสียง
และอุดมคติก็เพื่อเงินตัวเดียว
พฤติการณ์ของโจรสลัดตะรุเตา เป็นที่เกรงขาม และหวาดกลัวของผู้เดินทางผ่าน
น่านน้ำตะรุเตาอย่างมาก เมื่อปล้นแล้วก็ฆ่าโยนศพทิ้งทะเล
หรือฆ่าแล้วเอาหินถ่วงทะเลให้ เป็นเหยื่อปลาฉลาม
หากขัดขืนต่อสู้ลูกเรือและเจ้าของเรือกว่า ๕๐ ชีวิต ถูกฝังทิ้งลงทะเล ตัว
เรือถูกเจาะให้จมลงทะเล ใคร ? ก่อให้เกิดคดีสะเทือนขวัญครั้งนี้
ถ้าไม่ใช่นักโทษตะรุเตา ร่วมมือกับตำรวจ ผู้คุม พัศดี และเจ้าพ่อแห่งตะรุเตา
สินค้าทั้งปวงได้แก่ ข้าวสาร พริกแห้ง ถั่ว กระเทียม สบู่ เงิน ทองคำแท่ง
ถูกนำไปจำหน่ายในเขตจังหวัดสตูล สร้างความร่ำรวยให้กับ เจ้าหน้าที่อย่างมากมาย
อิทธิพลของกลุ่มโจรครอบคลุมไปทั่วจังหวัด มีเจ้าหน้าที่ร่วมมือกับ โจร
ชาวบ้านร้องเรียน ไปส่วนกลาง แต่อิทธิพลและอำนาจสินบนทำให้ก๊กโจรยังลอยนวลอยู่
สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วไป
ข้าราชการที่ทุจริต ถูกกลั่นแกล้ง โยกย้าย ขุนอภิพัฒน์
กระทำตนเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ คือช่วยเหลือข้าราชการด้วยกัน ก่อให้เกิดความ
เกรงใจทำให้ ้กระบวนการค้าของหนีภาษีดำเนินไม่ได้ โชคเข้าข้างขุนอภิพัฒน์อย่างจัง
ผู้บังคับการตำรวจ ภูธรจังหวัดสตูล คือ พันตำรวจตรี หลวงอนุมานขจัดเหตุ
เป็นเพื่อนกันมาก่อนย้ายมาสตูลใน ระยะนั้นด้วย จึงเห็นโอกาสเหมาะ
สำหรับการค้าของหนีภาษีและของโจร ขณะที่โจรสลัดตะรุ เตากำลัง อาละวาดหนักนั้น
ก็มีโจรสลัดก๊กอื่นฉวยโอกาสปล้นด้วย โดยอ้างเป็นโจรสลัดตะรุ เตา
แม้แต่ผู้รักษากฎหมายก็เข้าร่วมด้วยกับขบวนการปล้นดังกล่าว โจรสลัดถูกสวมรอยน่าน
น้ำตะรุเตาจึงกลายเป็นที่นัดชุมนุมโจร เกิดเหตุตายไม่เว้นแต่ละวัน
ไม่รู้ก๊กไหนเป็น ก๊กไหน ตำรวจทำอะไรไม่ได้ ระยะปี พ.ศ.๒๔๘๗ – ๒๔๘๘ จึงเป็นยุคมืดจริง ๆ ทะเลรอบเกาะตะรุ เตาแปดเปื้อนด้วยกลิ่นคาวเลือด
เสียงคลื่นลมระคนด้วยเสียงปืน ฉลามร้ายอิ่มหมีพีมัน
เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคนเริ่มมองเห็นว่า
หากปล่อยโจรสลัดให้เป็นใหญ่เหนือทะเล อีกหน่อยทะเลหลวงจะไม่มีใครกล้าไปมาหาสู่
ขนสินค้าและจับปลา ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ๒ นาย ได้รายงานไปยัง พันตำรวจเอก บรรจงศักดิ์
ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจเขต ๙ จังหวัดสงขลา
เล่าถึงเหตุการณ์ของโจรสลัดครอบครองอิทธิพล ที่โจรมีที่ตัวจังหวัด
ท่านจึงรวบรวมหลักฐาน เท่าที่มีอยู่ ไปยังกรมตำรวจ และกรมราชทัณฑ์
เรื่องก็ยิ่งบานปลายออกไป อธิบดีทั้งสองกรม ได้รายงานให้รัฐมนตรีเป็น
ผู้พิจารณาสั่งการ ตัวรัฐมนตรีเองกลับตัดสินไม่ได้ จึงต้องมีการ
ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อตัดสินชี้ขาด ทางมลายูเองก็หาทางที่จะกำจัดโจรสลัด
พ่อค้ามลายู ร้องเรียน ไปยังรัฐบาลอังกฤษ ขอกำลังทางเรือคุ้มกันเรือสินค้าของตน
คือใช้เรือติดอาวุธคุ้ม กัน ฝ่ายโจรสลัดก็หันไปปล้นเฉพาะเรือที่มาจากพม่า ภูเก็ต
กันตัง แทน ซึ่ง ผลก็ยังกระทบกระ เทือนมลายูเช่นเดิม
ขณะที่คณะรัฐมนตรีกำลังปรึกษาหารือกันว่าจะตัดสินปัญหาเรื่องเกาะตะรุเตา
อย่าง ไรก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากมลายู คือ อังกฤษขอเสนอที่จะปราบปรามเอง
ในที่สุดรัฐบาล ก็ยอม รับข้อเสนอโดยใช้ดอกเตอร์ วิบูลย์ ธรรมวิทย์
ข้าหลวงตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ เป็นตัวแทน ฝ่ายไทยไปร่วมประชุมที่มลายู
เพื่อวางแผนทำลายรังโจรน่านน้ำตะรุเตา
อังกฤษยกพลขึ้นบก พ.ศ.๒๔๘๙
การยกพลขึ้นบกของอังกฤษ ถือว่าเป็นเรื่องลับที่สุด แม้แต่ พันตำรวจเอก
บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ก็ไม่ทราบแผนการณ์ สำหรับตำรวจสตูลนั้น ไม่ต้องพูดถึง
แต่แผนการยกพลขึ้นบก ของอังกฤษล่วงรู้เข้าหู โจรสลัดเข้าจนได้
เพราะมีโจรสลัดตะรุเตากลุ่มหนึ่งบังเอิญ เรือแตกไป ขึ้นทางฝั่งมลายู
ทหารอังกฤษได้ช่วยชีวิตไว้ นักโทษบางคนพูดภาษามลายูได้ จึงรู้ว่าอังกฤษยก พล
ขึ้นบกที่ตะรุเตา โจรสลัดคนหนึ่งรีบหนีมาฝั่งไทย แล้วรายงานให้ขุนอภิพัฒน์ทราบ
ทันทีที่ ทราบข่าว ขุนอภิพัฒน์ และคณะ จึงรีบลงเกาะเพื่อทำลายหลักฐานของกลางต่าง ๆ
ที่เผาได้ก็ เผา ที่เผาไม่ได้ก็ฝัง ทิ้งน้ำทิ้งทะเลก็มี
๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ พลจัตวา เซอร์เวย์ ได้นำเรือรบ ๒ ลำ พร้อมทหารอังกฤษ
๓๐๐ คน อาวุธครบมือ ยกพลขึ้นบกที่อ่าวตะโละวาว ทางฝั่งตะวันออกของเกาะตะรุเตา
ไม่มี การต่อสู้ ไม่มีแม้กระทั่งเสียงปืนที่จะยิงโต้ตอบข่มขวัญ พวกพัศดี
ผู้คุมนักโทษ ต่างก็คิดหลบ หนีเอาตัวรอดกัน บ้างก็เข้าป่าดง หนีลงเรือ
ซุกซ่อนตามถ้ำหรือหุบเขาใกล้ ๆ อ่าวตะโละวาวขุน อภิพัฒน์สุรทัณฑ์ พัศดี ผู้คุม
และนักโทษที่อยู่ในข่ายสงสัย ถูกจับได้บนเกาะ ได้ส่งให้นายแสวง ทัพนันทอง
(ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล) ดำเนินการพิจารณาโทษต่อไป ” คุกตะรุเตา
” ก็ปิดฉากลงเมื่อ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙
เมื่ออังกฤษถอนทหารกลับมลายู หลัง จากนั้นตะรุเตาก็เป็นเกาะร้าง ๑๐ ปี
มีประชาชนเริ่มทยอยเข้าไปจับจองที่ดิน หักร้างถางพง ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ จนเมื่อ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ได้ถอนการหวงห้ามของกรมราช ทัณฑ์ และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา
เมื่อ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๗ กำหนดให้หมู่เกาะตะรุ ุเตา เกาะอาดัง – ราวี และเกาะน้อยใหญ่ ประมาณ ๕๑ เกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
หลังจากเลิกใช้เกาะตะรุเตาเป็นสถานที่กักขังนักโทษแล้ว
กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้า ที่ไปสำรวจเพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
และได้อพยพราษฎรที่เข้าไปทำมาหากิน อยู่ออกจากเกาะตะรุเตาโดยจ่ายเงินทดแทนให้
พร้อมทั้งสงวนเกาะหลีเป๊ะ ไว้เป็นที่อยู่อาศัย ของชาวเลเพียงเกาะเดียว
ทางราชการได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ( National Park) เมื่อ
๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๗
สัตว์ป่า สัตว์ป่ายังมี ได้แก่ ค่างแว่น ลิงแสม กระจง อีเห็น หมูป่า
เป็นต้น บางครั้ง อาจ จะได้เห็นปลาโลมาเวียนว่ายอยู่ในทะเล นกประจำถิ่น
และนกอพยพย้ายถิ่น ประมาณ ๑๐๐ ชนิด นกที่พบอยู่ทั่วไป ได้แก่นกโจรสลัด
และนกกระสาใหญ่ ทางด้านใต้สุดของ เกาะตะรุ เตา คือ เกาะรังนก
มีนกนางแอ่นอาศัยทำรังอยู่เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่งเคย มีการอนุญาต ให้สัมปทานรังนก
ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
สัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่น่าสนใจได้แก่ เต่าทะเล มีอยู่ ๔ ชนิด ได้แก่
เต่าสังกะสี เต่า ตนุ เต่ากระ และ เต่ามะเฟือง ระหว่างเดือนกันยายน – เมษายน เต่าทะเลจะขึ้นวางไข่บนหาด ทรายต่าง ๆ
ปัจจุบันจำนวนไข่เต่าได้ลดลงเหลือราว ๑ ใน ๑๐ ของปี พ.ศ.๒๕๑๗ เพราะมีการ
เก็บไข่เต่ามากเกินไป
สภาพภูมิอากาศ
ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม
อุทยานแห่งชาติตะรุเตาจะอยู่ใต้อิทธิพลของลมม รสุมตะวันตกเฉียงใต้
ทำให้มีคลื่นลมแรง ฝนตกหนัก ในปีหนึ่ง ๆ มีฝนตกเฉลี่ย ๒ , ๖๐๐
มิลลิ ิเมตร ในระหว่างเดือนธันวาคม ถึงมีนาคม มีฝนตกน้อย
จึงเหมาะสำหรับการท่องเที่ยว อุณหภูมิทั่วไปเฉลี่ย ๒๗ – ๒๘
องศาเซลเซียส อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายน
ความหมายของอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติ หมายถึง พื้นที่อันกว้างขวาง
ประกอบไปด้วยทิวทัศน์สวยงามมีสิ่ง น่าสนใจทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา
และด้านการท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ เช่น เป็นแหล่งที่
อยู่ของพืชและสัตว์ที่หาได้ยาก หรือมีปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นที่น่าอัศจรรย์
หรือมีสิ่งที่น่า สนใจเป็นพิเศษทางประวัติศาสตร์หรือวัฒนธรรม
อุทยานแห่งชาติที่เข้ามาตรฐานโลก จะต้อง อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง
มีเจ้าหน้าที่เพียงพอที่จะสามารถป้องกันการบุกรุกทำ ลายป่าได้อย่างดี
พื้นที่จะต้องกว้างขวางอย่างน้อย ๑๐ ตารางกิโลเมตร และข้อสำคัญอีกประ
การหนึ่งก็คือ จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปท่องเที่ยวได้
ภายในอุทยานแห่งชาติห้าม มิให้ทำการขุดหาเอาแร่ ทำไม้ ล่าสัตว์ เก็บหาหรือทำลายพืช
ตลอดจนไม้ดอกต่าง ๆ นอกจาก กระทำเพื่อวิชาการ
และอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ
จุดประสงค์ในการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ มี ๓ ประการ
๑. เพื่อป้องกันทรัพยากรจากการถูกทำลาย
๒. เพื่อการศึกษา
๓. เพื่อการท่องเที่ยว
ประโยชน์ของอุทยานแห่งชาติ
๑. เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
๒. ช่วยให้ท้องถิ่นมีเศรษฐกิจดีขึ้น เช่น อุทยานแห่งชาติต่าง ๆ
ในแอฟริกา ได้ดึง ดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้าไปปีละมาก ๆ
จนเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ
๓. อุทยานแห่งชาติเป็นต้นน้ำลำธาร ส่วนมากเป็นป่าไม้
๔. เป็นแหล่งป้องกันพืชและสัตว์ที่หาได้ยาก มิให้สูญพันธุ์ไป เช่น
อุทยานแห่งชาติ ตะรุเตา ของประเทศไทย มีปะการังใต้น้ำ
ซึ่งสวยงามและกระจายไปในพื้นที่อันกว้างขวาง
หากได้เข้ารับการคุ้มครองในรูปของอุทยานแห่งชาติแล้ว ก็อาจถูกทำลายหมดสิ้น
โดยการระ เบิดปลา ลากอวน หรือจากการเก็บเอาไปขาย
สถานที่ท่องเที่ยว
๑. อ่าวพันเตมะละกา (เกาะตะรุเตา) มีชายหาดที่ขาวสะอาด
จุดแรกที่ควรแวะชม ได้แก่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ในบริเวณที่ทำการกลางของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ภายในศูนย์จะมีนิทรรศการแสดงทางธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ จะช่วยให้ นักท่องเที่ยว
ได้ ทราบถึงสภาพทั่วไปของอุทยาน ในตอนค่ำจะมีการบรรยายสรุปและสไลด์ฉายให้ชม
- ใกล้ท่าเรือจะมีอนุสาวรีย์ เป็นรูปปิรามิดขนาดเล็ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการเสีย
สละของ เจ้าหน้าที่อุทยานที่เสียชีวิตเนื่องจากการปะทะกับ ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๑๘
- บ่ออนุบาลเต่า เป็นสถานที่เพาะฟัก เลี้ยง ลูกเต่าทะเล ตั้งแต่เริ่มออกไข่
- ผาโต๊ะบู อยู่ด้านหลังที่ทำการกลาง เป็นจุดเหมาะในการชมความงามของอ่าวพัน
เตมะละกาได้ทั่วบริเวณ
- ถ้ำจระเข้ อยู่สุดคลองมะละกา เป็นถ้ำที่มีความลึกลับพิสดาร มีหินงอก
หินย้อยสวย งามมาก
๒. อ่าวสน อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะตะรุเตา
และอยู่ทางด้านใต้ของอ่าวพันเต มะละกา เป็นอ่าวรูปโค้ง มีหาดทรายขาวทอดยาวเหยียด
งดงามมาก น้ำตื้นและใส เป็นสถาน ที่ดูพระอาทิตย์ตกหลังเกาะอาดัง ระหว่าง อ่าวสน
และอ่าวพันเตมะละกา มีทางเดินชม ธรรม ชาติใช้เวลาเดินประมาณ ๒ ชั่วโมง
อุทยานได้จัดสถานที่ กางเต็นท์พักแรม ณ บริเวณอ่าวสน ไว้บริการนักท่องเที่ยว
ตามชายหาดหินเหนืออ่าวสน บริเวณหินมีเพรียงทะเลเกาะอยู่ ฉะนั้นผู้ ที่ลงเล่นน้ำจะต้องระวัง
ปัจจุบันอุทยานได้จัดให้อ่าวสนเป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ด้วย
๓. เกาะหินงาม เป็นเกาะเล็ก ๆ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอาดัง
หินทุก ก้อนบนเกาะล้วนแต่ผิวเกลี้ยงดังสีนิล
เนื่องจากถูกขัดสีด้วยแรงคลื่นก้อนหินเหล่านี้ถูกน้ำทะเล ซัดพาขึ้นมากองรวมกัน
เรียงรายเป็นระเบียบราวเนรมิต หินงามนี้ห้ามนำหรือเคลื่อนย้ายติดตัวไปแต่
ประการใด มีคำสาปของเจ้าพ่อตะรุเตา ” ผู้ใดบังอาจเก็บ หินงามจากเกาะนี้ไป
ผู้นั้นจะถึงซึ่งความหายนะ นานัปการ จะกลับไม่ถึงบ้าน …จะประสบอุบัติเหตุ…จะหลุดพ้นจากหน้าทีการงาน…จะพบภัยพิบัติไม่มีที่สิ้นสุด…จนถึงชีวิต ”
๔. เกาะหลีเป๊ะ อยู่ห่างจากเกาะอาดังออกไปทางใต้ ๒ กิโลเมตร
เป็นถิ่นอาศัยของ ชาวเล เรียกตนเองว่า ” อูรัก ลาโว้น ” หมายถึง
คนแห่งทะเล เนื้อที่ของเกาะนี้ประมาณ ๔ ตารางกิโลเมตร ชุมชนชาวเลมีอยู่ประมาณ ๙๐๐ –
๑ , ๑๐๐ คน ประกอบอาชีพประมง มีประ
เพณีวัฒนธรรม และภาษาพูดเป็นของตนเอง
๕. เกาะอาดัง มีที่ทำการย่อยของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา สาขาแหลมสน
เกาะอาดัง มีที่พักเรือนแถวและเต็นท์ รอบ ๆ เกาะจะมีสวนปะการังใต้สมุทร
ซึ่งเลื่องลือไปทั่วโลก และ บางบริเวณอยู่ตื้นจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจากผิวน้ำ
ปะการัง บริเวณรอบหมู่เกาะอาดัง – ราวี
มีทิวทัศน์ใต้ทะเลสวยงามน่าประทับใจ นัก ท่องเที่ยว ที่มีโอกาสดำลงไปใต้น้ำ
จะรู้สึกเพลิดเพลินกับธรรมชาติ จนไม่อยากจะขึ้นจากน้ำ อาจได้พบกับปลาหิน กุ้งมังกร
หรือพบกับปลากระเบนฝังตัวอยู่บนผิวทราย หรือพบปลาเก๋า
สีน้ำตาลลายดำนอนอยู่อย่างมีความสุข ไม่สนกับผู้คนที่ไปเยี่ยมกราย
ส่วนปะการังมีหลายชนิด เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังผักกาด ปะการังสมอง ปะการังขนนก
ฯลฯ มีทั้งสีน้ำตาล สีเขียว สีม่วงอ่อน และสีส้ม นอกจากนี้ยังมีกัลปังหา
เม่นทะเลสีดำขนยาวเกาะเรียงรายอยู่บนพื้น ทราย หอยชนิดต่าง ๆ สีสันงดงาม
สภาพดังกล่าวเปรียบเสมือนสวนป่าใต้น้ำ บริเวณนี้มีเรือหางยาว ให้เช่าไปดูปะการัง
และสามารถแล่นไปได้ถึงเกาะหินงาม ชมความมหัศจรรย์ของหินขนาด ต่าง ๆ
สำหรับสถานที่ที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์ในอุทยานแห่งชาติตะรุเตามีหลายแหล่ง
เช่น บริเวณเรือนจำที่อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวตะโละวอ (เกาะตะรุเตา)
ซึ่งมีร่องรอยของเรือน จำ ถุงแช่ปลาคอนกรีต หลุมฝังศพ ถนนเก่าและโซ่ตรวน
เป็นหลักฐานให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา
บทความจากกรมราชทัณฑ์
เกาะ “ตะรุเตา” หรือ “ตะรูเตา” เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสตูล
แหล่งธรรมชาติที่สวยงามแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร
ตั้งอยู่ในเขตทะเลอันดามัน มีความงามตามธรรมชาติทั้งบนเกาะและในน้ำ
จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก เกาะตะรุเตาได้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่
19 เมษายน 2517
แม้ในปัจจุบัน เกาะตะรุเตาถือว่าเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยว
ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
แต่ในอดีตมีเรื่องราวไม่น้อยที่เล่าขานกันมาเกี่ยวกับความทุกข์ยากลำบาก
ความแร้นเค้นของนักโทษและผู้คุมจนต้องผันชีวิตตนเองไปเป็นโจรสลัดปล้นฆ่าเหยื่ออย่างทารุณโหดร้าย
ตำนานของเกาะตะรุเตาซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “ทัณฑสถาน”
หรือ “นิคมฝึกอาชีพ” สำหรับนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ของประเทศไทยยังคงเป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่จนถึงทุกวันนี้
“ทัณฑสถานเกาะตะรุเตา” เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2479 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงสี่ปี
ซึ่งมีพระยาพหลพลหยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
เกาะตะรุเตาได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ฝึกอาชีพและกักกันสำหรับนักโทษคดีอุกฉกรรจ์และนักโทษการเมือง
ด้วยเหตุผลง่ายๆคือมีภูมิประเทศยากแก่การหลบหนี เพราะเป็นเกาะใหญ่อยู่กลางทะเลลึก
รอบๆเกาะก็เต็มไปด้วยฉลาม แถมในคลองก็มีจรเข้ชุกชุม คลื่นลมมรสุมก็รุนแรง
ไม่มีเรือผ่านไปมา มั่น ใจได้ว่าจะไม่มีการแหกหักหลบหนี นอกจากจะมีผู้คุมดูแลแล้ว
ยังมีฉลามและจรเข้ช่วยควบคุมไว้อีกชั้นหนึ่ง กรมราชทัณฑ์ในสมัยนั้นซึ่งได้รับคำสั่งจากรัฐบาลในขณะนั้นให้ทำการสำรวจ
จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพสำหรับนักโทษขึ้น ณ สถานที่นี้
หลวงพิธานฑัณฑทัย
พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดี
ได้รับมอบหมายให้ไปทำการบุกเบิก ปลูกสร้างอาคารที่ทำการ ที่พักผู้คุม
เรือนนอนผู้ต้องขัง และโรงฝึกอาชีพ ใช้เวลา 2 ปี จึงสำเร็จ
นักโทษชุดแรกที่ได้มีโอกาสมาพักผ่อนที่เกาะตะรุเตา เป็นพวกคดีอุกฉกรรจ์ จำนวน 500
คน ในปี พ.ศ.2481 และมีชุดหลังก็ติดตามมาเรื่อยๆ
จนมียอดผู้ต้องขังสูงถึง 3,000 คน ภายในปีนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะนี้
เพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56หน้า 566 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2482
และมีการส่งนักโทษการเมืองเข้ามายังเกาะตะรุเตาจำนวน 70 คน ส่วนใหญ่เป็นนักโทษคดีกบฏบวรเดชและกบฏนายสิบมีการแยกกักขังนักโทษอุกฉกรรจ์และนักโทษการเมืองออกจากกัน
โดยนักโทษนักโทษการเมืองจะนำมากักไว้ที่อ่าวตะโละอุดัง
ส่วนนักโทษอื่นถูกคุมขังไว้ที่อ่าวตะโละวาว
นักโทษการเมืองที่ถูกนำมากักขังที่เกาะตะรุเตาในครั้งนั้น มีทั้งนักการเมือง
ผู้มีนักคิดนักเขียน ซึ่งเคยอยู่ในแวดวงการเมือง การทหาร
หรือเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในการบริหารประเทศ รวมถึงนักคิดนักเขียนหลายคน
จึงไม่มีการเข้มงวดกวดขันมากนัก และไม่ต้องทำงานหนักเหมือนนักโทษอุกฉกรรจ์
อิสรภาพย่อมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเสมอไมว่ายุคใดสมัยใด
ไม่นานนัก นักโทษการเมืองกลุ่มหนึ่ง นำโดย พระยาศราภัยพิพัฒน์
(ซึ่งภายหลังได้เป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม
ในปี พ.ศ.2490) พร้อมกับพวกอีก 4 คน
ได้แก่ พระยาสุรพันธ์เสนี ขุนอัคนีรถการ นายหลุย คีรีวัติ และนายแฉล้ม
เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ ก็ได้หลบหนีออกจากเกาะตะรุเตา ในวันที่ 16 ตุลาคม
พ.ศ. 2482 เวลาประมาณห้าทุ่ม
โดยติดสินบนผู้คุมและจ้างเรือชาวบ้านหลบหนีไปขึ้นฝั่ง ใช้เงินในการทำการไปทั้งสิ้น
5,000 บาท
นับว่าไม่น้อยทีเดียวเมื่อเทียบกับค่าเงินในสมัยนั้น ทุกคนพกมีดชายธงไปคนละเล่ม
สาบานกันว่าจะสู้ตายหากถูกจับได้หลังจากซ่อนตัวในแหเรือตังเกไปยังเกาะลังกาวีของมาเลเซียแล้ว
ก็ได้ขอลี้ภัยการเมืองที่นั่น ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
บุคคลที่มีชื่อเสียงอีกท่านหนึ่งที่เคยเป็นนักโทษที่เกาะตะรุเตาคือ สอ
เศรษฐบุตร ก่อนต้องโทษมีบรรดาศักดิ์เป็น “รองเสวกเอก
หลวงมหาสิทธิโวหาร” ด้วยวัยเพียง 26 ปี
และดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมบัญชีกลาง ต่อมาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นปลัดกรมองคมนตรี สังกัดกรมราชเลขาธิการในราชสำนัก ท่านถูกจับในคดีกบฏบวรเดช
ถูกถอดบรรดาศักดิ์ ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต เคยถูกคุมขังทั้งที่เรือนจำกลางบางขวาง
เกาะตะรุเตา และเกาะเต่า ระหว่างถูกจองจำใช้เวลาเขียนพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย
จนได้ความนิยมยกย่องทั่วประเทศว่าเป็นพจนานุกรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา
โดยลักลอบส่งต้นฉบับออกมาตีพิมพ์นอกเรือนจำผ่านทางมารดาที่เดินทางเข้ามาเยี่ยม
ในปี พ.ศ.2484 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง
นิคมตะรุเตาได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เกิดความอดอยากหิวโหยและโรคภัยไข้เจ็บ
โดยเฉพาะไข้ป่า ได้ทำให้นักโทษเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมากกว่า 700 คน เมื่อเกิดความเร้นแค้นไม่มีอาหารจะกิน ในที่สุดผู้คุมและนักโทษบางส่วนก็ผันตัวเองมาเป็นโจรสลัด
ออกปล้นสะดมเรือสินค้าที่แล่นผ่านไปมาเพื่อยังชีพในระยะแรก
และทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ มีการยึดเรือและฆ่าเจ้าทรัพย์อย่างทารุณโหดร้าย
เป็นที่หวาดกลัวของนักเดินเรือจนไม่มีใครอยากผ่าน ในที่สุดทหารอังกฤษจากมาเลเซียได้อาสารัฐบาลไทย
นำทหารจำนวน 300 นาย ยกพลขึ้นบกที่เกาะตะรุเตาในวันที่ 15
มี.ค.2489 จับกุมขุนอภิพัฒน์สุรทัณฑ์
หัวหน้าโจรสลัดและแก๊งโจรสลัดนำขึ้นฝั่ง ระหว่างทีอยู่ในเรือ
นายทหารอังกฤษได้ทรมานแก๊งโจรสลัดด้วยการให้นั่งตากแดดอยู่บนดาดฟ้าเรือ
โดยขีดวงกลมให้นั่งไม่ให้ลุกไปไหนโดยเด็ดขาด
เมื่อเดินทางถึงเกาะนกก็บังคับให้โจรสลัดเดินเท้าเปล่าไปยังเรือนจำจังหวัดสตูล
มอบให้นายแสวง ทิมทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลในสมัยนั้นดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ในที่สุด กรมราชทัณฑ์ก็ได้ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตาในปี พ.ศ.2491 สถานที่แห่งนี้จึงเป็นอดีต
กลายเป็นตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
เรื่องราวของเกาะตะรุเตา
ได้รับการถ่ายทอดทั้งในรูปแบบของภาพยนต์และนวนิยาย เช่น งานเขียนเรื่อง “Pirates
of Tarutao” โดย Paul Adirex (นามปากกาของคุณปองพล
อดิเรกสาร) หรือภาพยนต์เรื่อง “นรกตะรุเตา” ผลงานการกำกับของรุจน์ รณภพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม “ตะรุเตาโมเดล”
การสร้างคุกบนเกาะก็ยังไม่ล้าสมัยเสียทีเดียวและคงไม่ใช่คุกแห่งเดียวที่อยู่บนเกาะ
เพราะปัจจุบันเรามีเรือนจำที่ตั้งอยู่บนเกาะอีกแห่งหนึ่ง
ได้แก่เรือนจำอำเภอเกาะสมุย แต่คงนำไปเปรียบเทียบกับนิคมฝึกอาชีพตะรุเตาสมัยก่อนไม่ได้อย่างแน่นอน
เพราะเรือนจำแห่งนี้เกิดขึ้นมาโดยนโยบาย
สภาพการณ์ตลอดจนแนวคิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ประการสำคัญเรือนจำแห่งนี้
ไม่ได้มีฉลามหรือจรเข้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้คุมรอบนอกโดยไม่ต้องจ่ายเงินเดือนเหมือนคุกที่เกาะตะรุเตาแต่อย่างใด…
กบฎบวรเดช
เริ่มขึ้นเมื่องวันที่ 11 ตุลาคม 2476 เหตุการณ์เมื่อครั้งกบฏบวรเดช ทิ้งรอยประวัติศาสตร์ไว้หลายประการ เช่น
อนุสาวรีย์หลักสี่ (อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ-อนุสาวรีย์ปราบกบฏ)
ตำนานคุกนรกตะรุเตา และการจัดงานศพสามัญชนครั้งแรกบนท้องสนามหลวง
กบฏบวรเดช (คณะกู้บ้านเมือง)
อันสืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายคณะราษฎรและอำนาจเดิม
ตั้งแต่เค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์ จนถึง
พระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ และการฟ้องร้องในหลวงรัชกาลที่
๗ เกิดความวุ่นวายจนนำไปสู่การรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
โดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำฝ่ายทหาร ต่อเนื่องด้วยกบฏบวรเดช ที่นำโดยพระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบวรเดช
รัฐบาลสมัยนั้น (พระยาพหลพลพยุหเสนา) ประสงค์สร้างเมรุชั่วคราวเผาศพผู้เสียชีวิตฝ่ายรัฐบาลบนท้องสนามหลวง
เกิดการ“คัดง้าง” กันขึ้นระหว่างรัฐบาลกับล้นเกล้ารัชกาลที่
๗ ซึ่งในเบื้องต้นไม่ทรงยินยอม เพราะเป็นสถานที่ประกอบพิธีสำหรับเจ้าเท่านั้น
แต่ท้ายที่สุดก็จำต้องทรงยินยอม โดยระบุถ้อยคำว่า “ไม่ได้เป็นพระราชประสงค์”ภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยเป็นระบอบประชาธิปไตย
เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 โดย ” คณะราษฎร์ ” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น
มีคณะนายทหารฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นความรีบร้อนช่วงชิงอำนาจการปกครองประเทศ
ทั้งที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
ก็ทรงดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในกาลเวลาอันเหมาะสมอยู่แล้ว
เพียงแต่ทรงต้องการให้ราษฎรมีความเข้าใจในวิถีทางรัฐธรรมนูญอย่างถ่องแท้เสียก่อนเท่านั้น
11
ตุลาคม 2476 ประวัติศาสตร์การนองเลือดอันเกิดจากคนไทยด้วยกัน
เปิดฉากรบราฆ่าฟันกันขึ้น ซึ่งเป็นทหารฝ่ายรัฐบาลกับทหารปฏิวัติ
โดยการนำของพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช
ซึ่งเคยทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมมาแต่ก่อน ยกกำลังจากหัวเมือง คือ
จากกองทัพนครราชสีมา สระบุรี อยุธยา นครสวรรค์ ราชบุรี ปราจีนบุรี อุบลราชธานี
อุดรธานี พร้อมกับมุ่งหน้าสู่พระนคร เพื่อบังคับให้รัฐบาลกราบถวายบังคมลาออก
รถถังขนาดเบาเข้ามาใช้ในกรมทหาร- ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ทรงต่อสู้เพื่อขัดขวางการตัดทอนงบประมาณทางทหาร
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อฝ่ายรัฐบาล
อันมีพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี รู้ข่าวแต่ต้น
จึงได้ส่งกำลังตำรวจในความควบคุมของนายพันตำรวจโทพระกล้ากลางสมร
ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษมุ่งหน้าไปยังนครราชสีมา
ขบวนรถไฟของกองกำลังทหารฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดช
ได้ปะทะกับฝ่ายตำรวจสันติบาลของรัฐบาลที่ปากช่อง ฝ่ายปฏิวัติระดมยิงฝ่ายตำรวจทันที
กระสุนปลิดชีวิตนายร้อยตำรวจโทขุนประดิษฐสกลการ กับนายดาบตำรวจทองแก่น อบเชย
และพลตำรวจอีก 2 ราย นอกจากนั้น ได้รับบาดเจ็บอีกหลายนาย
การยิงต่อสู้กันดำเนินไปไม่นาน ตำรวจทั้งหมดก็ต้องยกธงขาว
ตกอยู่ในความควบคุมของทหารฝ่ายปฏิวัติ
นายพันตำรวจโทพระกล้ากลางสมร
ถูกควบคุมตัวมากับขบวนของทหารฝ่ายปฏิวัติจนกระทั่งถึงดอนเมือง
ทหารฝ่ายปฏิวัติเข้ายึดดอนเมืองไว้ได้เมื่อ 12 ตุลาคม 2476
แต่พระกล้ากลางสมรได้เล็ดลอดหนีจากการควบคุมของฝ่ายปฏิวัติออกมาได้ในความมืด
แล้วมุ่งกลับพระนครทันที
เมื่อฝ่ายปฏิวัติยึดดอนเมืองไว้แล้ว
ได้ส่งตัวแทนไปติดต่อกับรัฐบาลพร้อมกับยื่นหนังสือเป็นคำขาดให้รัฐบาลลาออกภายใน 1ชั่วโมง ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ทางฝ่ายปฏิวัติจะยกกำลังเข้าบังคับ
ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ( ผู้ว่าการรถไฟในสมัยต่อมา
) เป็นตัวแทนไปเจรจากับฝ่ายปฏิวัติให้เลิกทัพกลับไปแต่โดยดี
เพื่อมิให้เสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน โดยจะกราบบังคมทูลขอนิรโทษกรรมให้
เมื่อฝ่ายปฏิวัติไม่ได้รับผลจากการยื่นคำขาดเช่นนั้น
จึงให้กักตัวพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ไว้ พร้อมกับยื่นข้อเสนอใหม่ รวม 6 ข้อต่อรัฐบาล คือ
1.ต้องจัดการในทุกทางที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภาย
ใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน
2. ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ
การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก
3. ข้าราชการซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลายและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง
ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก
ผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง
4. การแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก
ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจในการบรรจุเลื่อนตำแหน่ง
5. การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจริงๆ
6. การปกครองกองทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี
เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง
สุดท้ายได้ขอประกาศนิรโทษกรรมแก่คณะปฏิวัติ
ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม
คณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที
โดยยึดพื้นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน บ่ายวันนั้น 12 ตุลาคม 2476
เสียงปืนใหญ่ระเบิดกึกก้องไปทั่วท้องทุ่งบางเขน
ฝ่ายปฏิวัติรอกำลังทหารจากจังหวัดหัวเมืองต่างๆ
ที่จะตามมาสมทบทหารฝ่ายรัฐบาลได้ยกพลมาถึงสถานีโคราชแล้ว วันที่ 25 ตุลาคม 2476
ฝ่ายรัฐบาลนั้น นายพันโท
พระเริงรุกปัจจามิตร ผู้บังคับการปราบปรามแนวหน้า
นำคณะทหารเข้าต่อสู้โดยลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น ปืนกลหนัก
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ( ปตอ. ) ขึ้นรถ ขต. และใช้รถจักรไอน้ำดุนวิ่งไปตามราง
เข้ากระหน่ำยิงอย่างไม่ลดละ
ฝ่ายปฏิวัติเสียเปรียบในด้านกำลังอาวุธ
พระยาศรีสิทธิสงคราม แม่ทัพหน้าของฝ่ายปฏิวัติ
สั่งให้พวกของตนถอยทัพมาตั้งมั่นอยู่ที่สถานีหลักสี่
ส่วนกำลังทหารปืนใหญ่จากนครสวรรค์
ซึ่งขณะยกกำลังมาเพื่อสมทบกับกำลังฝ่ายปฏิวัตินั้น
ได้ถูกกองกำลังฝ่ายรัฐบาลที่สถานีโคกกระเทียมตีสกัดไว้จนถอยร่นกระจายกลับคืนไป ส่วนพระยาเสนาสงครามแม่กองได้พยายามหนีเล็ดลอดลอบมาสมทบได้ในภายหลัง
กองทหารเพชรบุรีก็เช่นกัน
ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลที่ราชบุรีตีสกัดกั้นไว้ที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาย้อย)
ไม่สามารถจะผ่านมารวมกำลังกับฝ่ายปฏิวัติได้
ส่วนทหารจากปราจีนบุรีนั้นเล่า
ไม่มั่นใจว่าฝ่ายปฏิวัติจะมีชัยชนะต่อรัฐบาลได้
จึงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาลทำการปราบปรามฝ่ายปฏิวัติเสียอีกด้วย
เหตุการณ์ระส่ำระสายทำให้ฝ่ายปฏิวัติสูญเสียกำลังใจในการสู้รบเป็นอย่างมาก
การส่งกำลังบำรุงฝ่ายรัฐบาลที่ย่านสถานีบางซื่อ
การรบขับเคี่ยวกันอยู่ถึง 2 วัน 2 คืน กระทั่งวันที่ 14 ตุลาคม
ฝ่ายปฏิวัติยังคงปักหลักอย่างเหนียวแน่นที่สถานีหลักสี่ มีกำลังทหารม้าจำนวน 5
กองร้อยของนครราชสีมาประจำแนวรบอย่างทรหด แม้จะมีปืนกลอยู่เพียง 5
กระบอกเท่านั้นก็ตาม ยังสามารถรุกไล่ทหารฝ่ายรัฐบาลถอยร่น
จนเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้อีกครั้งหนึ่ง คุณทวดฮาโนแมก 277 ชนรถ
บทน. 4 ผล ทหารรัฐบาลตาย 9-10 คน
รวมถึงนายร้อยโทที่โดนรถ ปตอ. 76 ทับขาตายคาที่ รุ่งขึ้น
วันที่ 15 ตุลาคม
ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลังพร้อมอาวุธหนักนำขึ้นรถไฟ มีทั้งรถเกราะและปืนกล
รุกไล่ฝ่ายปฏิวัติจนเกือบประชิดแนวหน้าฝ่ายปฏิวัติซึ่งเป็นรองทั้งกำลังสนับสนุนและอาวุธต่างๆ
จำเป็นต้องถอยกลับ ระหว่างที่ยกกำลังถอยร่นนั้น
ได้ปล่อยรถจักรเปล่าซึ่งเปิดฝีจักรเต็มที่พุ่งเข้าชนขบวนรถเกราะ
ปืนกลของฝ่ายรัฐบาลตกรางพินาศยับเยิน ทหารของฝ่ายรัฐบาลเสียชีวิตไปจำนวนไม่น้อย
ทำให้ชะงักการรุกไล่ของทหารฝ่ายรัฐบาลไปได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
เมื่อประเมินกำลังการต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลแล้วเห็นว่า
ฝ่ายตรงข้ามมีกำลังเหนือกว่าเพราะ โดนฝ่ายรัฐบาลสั่งให้เอานัดดินออกจาก
ลูกกระสุนปืนใหญ่หมดไปก่อนหน้าที่จะก่อกบฏ
พระองค์เจ้าบวรเดชก็สั่งให้ถอยทัพไปยึดช่องแคบสถานีปากช่อง
เตรียมการต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป ขณะที่เคลื่อนกำลังถอยไปนั้น
ก็ได้ทำการระเบิดทำลายสะพานและทางรถไฟเสียหายหลายแห่ง
เพื่อเป็นการประวิงเวลาการติดตามรุกไล่ของฝ่ายรัฐบาลฝ่ายปฏิวัติถูกกำลังฝ่ายรัฐบาลติดตามปราบปรามถึงสถานีหินลับ
และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
พระองค์เจ้าบวรเดชขึ้นเครื่องบินหนีออกนอกประเทศ
และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายปฏิวัติได้สำเร็จ
การยุทธครั้งนั้น
ทรัพย์สินของชาติโดยเฉพาะกิจการรถไฟได้รับความเสียหายมาก
เป็นภาระของกรมรถไฟหลวงต้องดำเนินการซ่อมบำรุงทั้งล้อเลื่อนและทางรถไฟให้เรียบร้อยใช้การได้
ในเวลาต่อมาจะเห็นได้ว่า รถไฟ มีภารกิจต่อประเทศชาติในภาวะปกติ
โดยการรับใช้ประชาชนด้วยบริการโดยสารและการขนส่งสินค้าในฐานะรถไฟเป็นกิจการสาธารณูปโภค
อีกทั้งในภาวะสงคราม ” รถไฟ ” ก็พร้อมที่จะเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับกองทัพแห่งชาติ
เพื่อสนับสนุนการป้องกันประเทศเช่นเดียวกัน ภารกิจดังกล่าว
คนรถไฟทุกคนตระหนักในความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงนี้ด้วยความภาคภูมิใจ
นับแต่อดีตกระทั่งปัจจุบัน และแม้ในอนาคตข้างหน้าต่อไป
และการสู้รบกับทหารกรุงเทพฯที่บางเขน(ทุ่งบางเขน)
ทางการสมัยนั้นจึงเรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า ‘กบฏบวรเดช’
แต่องค์แม่ทัพและพวกนายทหารผู้ใหญ่
ผู้น้อยที่ร่วมด้วยเรียกพวกของตนว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง
ทว่าเมื่อฝ่ายที่ยกมาพ่ายแพ้จนองค์แม่ทัพต้องเสด็จหนีไปเขมร จึงต้องเป็น ‘กบฏบวรเดช’ อยู่หลายสิบปี
ทางการครั้งนั้นได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงหลักสี่ให้เรียกว่า ‘อนุสาวรีย์ปราบกบฏ’ เวลานี้อนุสาวรีย์ก็ยังมีอยู่
แต่เรียกกันใหม่ว่า ‘อนุสาวรีย์หลักสี่’
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
พลเอก พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบวรเดช (2 เมษายน พ.ศ. 2420-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
เป็นผู้นำกบฎบวรเดชพยายามยึดอำนาจจากรัฐบาลคณะราษฎร เมื่อ พ.ศ. 2476 พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระนามเดิม หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร
(พ.ศ. 2420-2496) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ
อยุธยา
หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร
สำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากเยอรมนี และรับราชการทหาร ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงทิพวัน
ณ เชียงใหม่ ธิดาของเจ้าเทพดำรงรักษาเขตกับเจ้าแม่พิมพา
กนิษฐาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2445 จากนั้นทรงรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 3 ปี
หม่อมเจ้าบวรเดชได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราชมณฑลพายัพ ที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2458-2462
และดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สถาปนาเป็น
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2472
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในปลายปี พ.ศ. 2474 เนื่องจากทรงขัดแย้งกับจอมพล
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพบก
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดความแตกแยกในคณะราษฎร
พระยาพหลพลพยุหเสนา ก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เกิดความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับผู้นำในคณะราษฎรหลายครั้งเกี่ยวกับแนวทางการเมืองของประเทศ
สาเหตุสำคัญมีอาทิการกำหนดสถานภาพของพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองใหม่
จนถึงข้อเสนอของนายปรีดี พนมยงค์ที่เรียกว่า “เค้าโครงเศรษฐกิจ”
ซึ่งนำเสนอรัฐสภาและทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ
เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย ซึ่งทรงวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอดังกล่าวอย่างรุนแรง
โดยทรงเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก
ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความวุ่นวายได้ ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรถือว่าปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและเป็นความต้องการรักษาอำนาจของ
”ฝ่ายศักดินา” หรือ “ระบอบเก่า” ความขัดแย้งดังกล่าวขยายตัวชัดเจนมากขึ้นจนมีการอภิปรายในรัฐสภาคัดค้านเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าว
กดดันให้นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางไปพำนักในฝรั่งเศส
ก่อนที่ผู้นำฝ่ายทหารของคณะราษฎรคือ พระพหลพลพยุหเสนา
ต้องก่อรัฐประหารเพื่อรักษาอำนาจของคณะราษฎรไว้
ทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายรุนแรงมากขึ้น
ขอขอบคุณ
http://academy.dsi.go.th/?p=93
https://sites.google.com/site/anucha6836/home/prawati-khwam-pen-ma
http://www.chaibadancrime.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539375222
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น